ขอเขียนไว้เตือนความจำตัวเอง ในการเปลื่ยน Flash Storage ให้ Macbook Air
อาจจะไม่ครบถ้วนมากนัก จะพยายามนึกขั้นตอน และลงรูป เท่าที่ยังพอจำได้ครับ
เกริ่นนำคือ ใช้ Macbook Air Late 2010 แบบใช้บน OSX เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ลง Bootcamp ไว้ ก็ใช้งานได้ดีมาตลอด
แต่เครื่องนี้ มีฮาดดิสแบบ Flash Storage ติดตั้งมากับเครื่องตอนซื้อมาใหม่ๆเลย คือ Flash Storage ของ Toshiba ขนาดความจุ 128GB
มีปัญหาคือที่ไม่พอใช้ในการใช้งาน และ Flash Storage ของ Apple รุ่นนี้ จำเป็นต้องใช้ Flash Storage เฉพาะ
ที่ไม่สามารถซื้อแยกแบบที่มีจำหน่ายตามร้านคอมทั่วไปได้
เท่าที่ค้นหาดูคือ มีของทาง OWC ของทาง usa ที่ผลิต SSD ออกมาสำหรับผลิตภัณฑท์ตระกูล MAC ทั้งหมด
จึงเลือกรุ่น Flash Storage 240GB OWC Aura 6G SSD สำหรับ macbook air late 2010 ถึง macbook air รุ่น 2011 จะใช้ SSD ชนิดเดียวกัน
ตัวนี้สั่งซื้อมาจาก OWC ในราคา 189 เหรียญดอลล่าสหรัฐพร้อมค่าส่งจาก USA ผ่าน DHL ใช้เวลา 4 วันทำการ
พร้อมค่าศุลกากรขาเข้า 601 บาท
จึงเป็นที่มาในการ อัพเกรดพื้นที่ Flash Storage หรือ SSD นั่นเอง และ ต้องการโอนข้อมูลจาก
SSD 128GB ตัวเก่ามาที่ตัวใหม่ SSD 240GB ตัวใหม่ด้วย
แบบ ทำงานต่อได้ทันที ด้วยการถอด ของเดิมออก ใส่ของใหม่แทน แล้วเรียก time machine restore ข้อมูลกลับมา ตรงๆง่ายแบบนี้เลย
จะพยายามถ่ายรูปมาให้ดูครับที่มีถ่ายไว้ บางขั้นตอนในการรีสโตร์ บางช่วงลืมถ่ายมาครับ จะพยามยามถ่ายย้อนหลังให้
เพราะไม่ได้มีอะไรซับซ้อนมากครับ ค่อนข้างขั้นตอนน้อยครับ
หนักไปทางการเปลื่ยน SSD หรือ Flash Storage มากกว่าครับ ที่นานๆทำที และ ต้องระมัดระวังในการถอดประกอบ
ในส่วอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในครั้งนี้1 ไขควง MacBook Air 5-Point Pentalobe เป็นลักษณะหัวดาว ขนาดเล็กมาก ใช้ในการเปิดหลังเครื่อง Macbook air
2 ไขควง Torx T5 ใช้สำหรับคลายสกูร ที่ยึด SSD บน logic borad
3 Flash Storage / SSD 240GB OWC Aura 6G SSD สำหรับ macbook air late 2010 ถึง รุ่น 2011 จะใช้ SSD ชนิดเดียวกัน
4 USB flash drive ใช้ที่ได้มากับเครื่อง macbook air ตอนซื้อมา หรือ ตัวติดตั้ง OSX ที่ทำขึ้นมาจาก Apple Store
5 Apple Airport Time Capsule 2013 หรือ ที่เราเก็บข้อมูล time machine ไว้ หรือ external harddisk ใช้ในการ restore ข้อมูล
* อุปกรณ์อื่นในรูปใช้ในการช่วยการทำงานหยิบจับ และ ปลดคอนเนตเตอร์ ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ครับ
Apple Airport Time Capsule 2013 ตัวนี้ใช้ในการ restore ข้อมูล กดที่รูปเพื่อดูข้อมูลเบื้องต้นที่เคยลงไว้ได้ครับ
ในส่วนของ SSD 240GB OWC Aura 6G SSD ที่สั่งมาอัพเกรด
ในส่วนการการอัพเกรด มีขั้นตอนโดยรวมดังนี้
ก่อนทำการติดตั้ง
1 ทำการแบคอัพข้อมูลด้วย time Machine ให้เรียบร้อย จากนั้นปิดเครื่อง
ขั้นตอนนี้ต้องทำตอนที่ยังไม่ได้เปลื่ยน Flash Storage Toshiba 128GB ออกจากเครื่อง
*ในรูปจะเห็นมี time machime ในระบบ network ถึงสองที่ คือในตัว Apple Airport Time Capsule และ NAS
อันนี้ทำไว้เป็นระบบสำรอง time machine ไว้ในเครือข่าย LAN สำหรับกรณี time machine ที่ใดที่หนึ่งมีปัญหา
ตัว time machine ที่เหลือจะได้ทำงานได้ต่อเนื่องโดยไม่มีการ down ของระบบ
ทำให้เครื่อง mac ทุกตัวสามารถใช้งาน time machine ได้อย่างต่อเนื่อง
โดยวิธีการแบบนี้ time machine จะทำการสำรองข้อมูล สลับกันสองที่นี้ ทุกๆ 1 ชั่วโมง ระหว่างเครื่อง Airport time capsule และ Nas อย่างอัตโนมัติ
เริ่มทำการติดตั้ง SSD 240GB OWC Aura 6G SSD ตัวใหม่ ลงในเครื่อง
1 หงายเครื่อง macbook air จากนั้น ถอดสกูรตัวเล็กด้านหลัง จำนวน 10 ตัว ด้วยไขควง MacBook Air 5-Point Pentalobe
ทั้งหมดจำนวน 10 ตัว
2 เปิดฝาโดย แง้มจากด้านบานพับจอ เพื่อเปิดฝาหลังออกมา
3 ทำการปลดคอนเนคเตอร์ power ที่มาจาก แบตเตอรี่ ออกจากแผง logic Board เพื่อปลดไฟเลี้ยง logic board
เพื่อความปลอดภัยในการถอดเปลื่ยน SSD
4 ไขสกูร ที่ยึด SSD ตัวเก่าออก ด้วย ไขควง Torx T5 ที่ยึด SSD Toshiba 128GB กับ logic board
5 ถอด SSD Toshiba 128GB ตัวเก่า ออก โดยการขยับซ้ายขวา และดึงออกเบาๆ ให้ออกจากซ็อคเกต
และเตรียม SSD ตัวใหม่ใส่แทน
6 ทำการใส่ SSD ตัวใหม่ลงไป ย้อนหลังขั้นตอน 5 และ 4 เพื่อยึด SSD ตัวใหม่
7 เสียบสาย คอนเนคเตอร์ ของแบตเตอรี่กลับเข้าไป และ ทำการปิดฝา ขันสกรู เป็นอันเสร็จสิ้น การเปลื่ยน SSD ตัวใหม่
ขั้นตอนการ restore ข้อมูลเก่า มาที่ SSD 240GB OWC Aura 6G SSD ตัวใหม่ 1 เสียบ flash drive ที่ช่อง USB ด้านข้างของเครื่อง macbook air
2 กด option ค้างไว้ และ กดปุ่นเปิดเครื่อง
3 กดเลือกไปที่ usb flash drive เพื่อบูต เข้า mac os installer ซึ่งในนี้ จะมีเครื่องมือทั้งหมด ในการช่วยย้ายข้อมูล
4 เข้า disk utility เพื่อทำการ format harddisk SSD 240GB OWC Aura 6G SSD ตัวใหม่
ด้วย Disk Utility และตั้งชื่อฮาดดิสตามต้องการ ในที่นี้ผมใช้ชื่อเดิม Macintosh HD
5 ย้อนกลับไป เมนูหลัก เลือกไปแทป restore system from backup เพื่อเรียก time machine ทำการเลือกย้ายข้อมูล แล้วชี้ไปที่ฮาดดิสตัวใหม่
6 รอการย้ายข้อมูลจาก time machine มายัง SSD ตัวใหม่ ที่ใส่เข้าไป
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณจริงประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง เท่าที่จับเวลาคร่าวๆ
SSD ตัวใหม่ ค่อนข้างอ่านเขียนไวกว่าตัวเดิมถือว่าเป็นผลพลอยได้ จากที่หวังเรื่องการขยายพื้นที่ใช้งานเป็นหลัก
* ขั้นตอนนี้ ใช้การรีสโตร์ผ่าน time capsule ด้วยการต่อสายผ่าน usb lan ในวงแลน
เวลาที่โชว์ระหว่างรีสโตร์ อาจจะโชว์นาน แต่ที่ใช้จริงจะไม่นานมากครับ ตามที่จับเวลาคร่าวๆ 2 ชั่วโมงครึ่ง
เมื่อรีสโตร์เสร็จ เครื่องจะรีสตาท พร้อมใช้งาน เหมือนก่อนที่จะทำการเปลื่ยน SSD เป็นอันเสร็จสมบูรณ์การอัพเกรด
* สังเกตว่า spotlight ของ osx ทำการ index ใหม่อีกครั้ง
* Recovery drive กลับมาทุกอย่างมาครบถ้วน เหมือน SSD ตัวเดิมที่ติดตั้งไว้ก่อนหน้าทุกประการ
ถือว่าสะดวกรวดเร็วมากในการเปลื่ยน SSD และ การนำข้อมูลกลับมาทั้งหมด แค่มี time machine ที่แบคอัพไว้ในการรีสโตร์
ท่านที่ไม่มี Airport time capsule สามารถใช้ผ่าน external harddisk ก็ได้เช่นกัน และ น่าจะเร็วด้วย
คำแนะนำปัจจุบัน สำหรับคนที่อยากเปลื่ยน SSD
หากเป็นไปได้ให้ใช้ SSD ตัวใหม่ของ Transcend ตามเสปคแล้วค่อนข้างเร็วกว่า และ ให้อุปกรณ์ชุด kit สำหรับเอา SSD ตัวเก่ามาทำเป็นที่เก็บข้อมูลพกพา USB 3.0 external drive enclosure แถมมาในตัว ซึ่งออกแบบมาค่อนข้างดีกว่า
JetDrive 500 240GB SATA III SSD Upgrade Kit for Macbook Air SSD (Late 2010 - Mid 2011) TS240GJDM500
ภาพและข้อมูลจาก Amazon
http://www.amazon.com/Transcend-JetDrive-240GB-Upgrade-Macbook/dp/B00JKCHNQS/ref=cm_cd_ql_qh_dp_t